หลังจากที่รอคอยการมาถึงของวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดต่อกันมาแรมปี ในเวลานี้หลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มได้รับวัคซีนและทยอยทดลองฉีดให้กับคนในประเทศกันแล้ว โดยเริ่มฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงอย่างบุคลากรทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่
ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย ซึ่งผู้สูงอายุก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการอักเสบที่ปอดอย่างรุนแรงจากอาการป่วย หรืออันตรายถึงชีวิตได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ หากเกิดการติดเชื้อ ดังนั้นคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หรือเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ผู้สูงอายุ จึงถูกเลือกให้เป็นกลุ่มเสี่ยงลำดับต้นๆ ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีน
ผู้สูงอายุ เตรียมตัวฉีดวัคซีนอย่างไรดี?
กลุ่มผู้สูงอายุ จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงการเตรียมความพร้อมให้ร่างกายก่อนฉีดวัคซีนตามขั้นตอนต่อไปนี้
ก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด-19
- รักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6- 8 ชั่วโมง
- หากมีอาการป่วย ปวดหัว หรือมีไข้ ควรรอให้อาการทุเลาอย่างน้อย 2 วัน เนื่องจาก ฤทธิ์ยาแก้ปวด/ยาแก้ไข้/ยาแก้อักเสบอาจส่งผลให้วัคซีนตอบสนองได้น้อยลง
- งดออกกำลังกายหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน
- หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ควรดื่มน้ำ อย่างน้อย 500-1000 มิลลิลิตร
ระหว่างขณะเข้ารับวัคซีนโควิด-19
- วัดอุณหภูมิร่างกายและวัดไข้ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
- กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคเลือดออกได้ง่าย จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เข้ารับการฉีดวัคซีน
- กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
- ควรดื่มน้ำ อย่างน้อย 500-1000 มิลลิลิตร
- รับประทานอาหารตามปกติ
- สวมเสื้อผ้าที่สะดวก ต่อการฉีดวัคซีน
- เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลการลงทะเบียนหมอพร้อมที่ระบุวัน เวลาที่ฉีดวัคซีน
- สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด
- เว้นระยะห่าง อย่างน้อย 1-2 เมตร
- หากมีโรคประจำตัวสามารถทานยาได้ตามปกติ
หลังรับวัคซีนโควิด-19
- พักกดูอาการ ณ จุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาที
*หากมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการรุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ และพบแพทย์ทันที
- ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอน ทุก 4- 6 ชั่วโมง
*หลีกเลี่ยงการรับประทานยาจำพวก: Ibuprofen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด
- เมื่อกลับบ้านแล้ว ต้องสังเกตอาการต่ออีก 2-3 วัน
*หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบพบแพทย์ทันที
- หลีกเลี่ยงการใช้แขนที่ฉีด โดยการยกของหนักอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ไม่ควรออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วง 1-2 วัน หลังได้รับวัคซีน
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6- 8 ชั่วโมง
- ดื่มน้ำ อย่างน้อย 500-1000 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกฮอล์
- ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หากอาการของโรคกำเริบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ทันที
กรณีที่มีผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน เช่น ปวดแขน บวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว หรืออ่อนเพลีย สาเหตุอาจเป็นเพราะร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19 ทั้งนี้ หากกรณีที่มีไข้สูงกิน 38 ํ C ปวดเมื่อยมาก อ่อนเพลียมาก ควรรับประทานยาพาราเซตามอลอย่างน้อย 1 เม็ด แต่ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดชนิดแรง เช่น ยาแอสไพริน ซึ่งอาจไปกดระบบตอบสนองของร่างกาย ทำให้วัคซีนตอบสนองได้น้อยลง
ถึงแม้ว่าในเวลานี้ วัคซีนของบริษัทซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า จะเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐให้เป็นทางเลือกในการป้องกันสุขภาพที่ดีและปลอดภัยที่สุดในเวลานี้ แต่รู้หรือไม่ว่าวัคซีนที่ดีที่สุดของผู้สูงอายุ ที่มีอยู่ตอนนี้ คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง งดเว้นอาหารลดความเสี่ยงไขมันสะสมในร่างกาย เลือกกินอาหารที่ให้สารอาหารสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อให้พร้อมรับมือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
โปรโมชั่นพิเศษ! ทำประกันรถสีขาวรับส่วนลด 5% สนใจคลิก https://www.tqm.co.th/fair_whitecar