ลดการเสี่ยงโควิด 19 ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ต่อพรบ.รถยนต์ ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ผู้ใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ต้องทำเป็นประจำทุกปี หลายคนคุ้นเคยกับการให้ตัวแทนประกันรถเป็นผู้จัดการเรื่องการต่อพรบ.รถยนต์ ให้ เพียงเพราะคิดว่าการ ต่อพรบ.รถยนต์ เป็นเรื่องยุ่งยาก ทั้งที่ความจริงแล้วคุณสามารถ ต่อ พรบ. รถยนต์ เองได้ด้วยตัวเองที่บ้านง่ายๆ ผ่านระบบออนไลน์  ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ทางออนไลน์ สะดวก ง่าย แถมยังไม่ต้องออกนอกบ้านให้เสี่ยงโควิด 19 อีกด้วย ลองทำตามกันดู ชัวร์ครับ รับรองว่าง่าย ใช้เวลาไม่เยอะ และไม่ยุ่งยากแบบที่คิดแน่นอน

How-to ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แบบออนไลน์

Step by step ทำตามได้ ง่ายนิดเดียว

1. เข้าไปยังเว็บไซต์   https://eservice.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก 

2. ถ้าคุณยังไม่เคย ต่อภาษีรถยนต์ แบบออนไลน์ให้เลือก  “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” เพื่อขอรับรหัสผ่าน

3. กรอกรายละเอียดในหน้า “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” ให้ครบ จากนั้นกดบันทึก 

4. หลังจากได้รหัสมาแล้วให้ Log-in เข้าสู่ระบบ (User name คือ เลขบัตรประชาชน 13 หลัก)

5. คลิกที่  “ชำระภาษีรถประจำปี”

6. จากนั้นคลิกไปที่เมนูย่อย “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

7. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ จากนั้นคลิก “ลงทะเบียนรถ”

8. เมื่อกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถเรียบร้อยแล้วให้ไปคลิกที่ช่อง “ยื่นชำระภาษี”

9. ในหน้านี้ให้เลือกที่ช่อง “ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์” โดยคุณสามารถเลือกบริษัทประกันภัยตามที่ต้องการ (กรณีซื้อกรมธรรม์ผ่านระบบ มีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด และบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด) เมื่อทำการซื้อเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกรายละเอียด ประกัน เลขที่กรมธรรม์ และวันที่สิ้นสุด โดยด้านล่างสุดจะมีการสรุป “รายการที่ต้องชำระ” ตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยแล้ว คลิกไปที่ “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”

10. กรอกที่อยู่สำหรับ ทำการจัดส่งเอกสาร ให้ครบถ้วนจากนั้นคลิกที่ “เลือกวิธีการชำระเงิน

11. เลือกวิธีชำระเงิน โดยเลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง ได้แก่

• ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกับธนาคาร/ สถาบันการเงิน)

• ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/ บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA, Master Card) โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร

• ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

จากนั้นคลิก “ตกลง”

12. ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงิน รวมถึงข้อมูลที่อยู่จัดส่งเอกสารให้เรียบร้อย แล้วคลิก “ยืนยัน” เป็นอันเสร็จขั้นตอน ต่อพรบ.ออนไลน์ 

กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/ เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/ เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน โดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์ จะแสดงรายละเอียดการชำระเงินเป็นราย Reference

หลังจากที่ชำระเงินแล้ว กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/ สาขา ทั่วประเทศ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคา?

ราคาการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สำหรับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล ซึ่งเป็นแบบราคาคงที่ขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ ราคาข้างต้นยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

  • รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาทต่อปี

จะเห็นว่าขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สามารถทำเองได้ไม่ยาก จับเวลาประมาณ 10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมบอกต่อคนรอบข้างที่มีรถ หาก พรบ. หมดอายุ ก็อย่าลืมต่อ พรบ. สามารถทำเองได้ง่ายๆ ผ่านออนไลน์ นอกจากทำง่าย สะดวก และรวดเร็วแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคโควิด-19 อีกด้วย

สนใจประกันภัยรถสีขาว ลดทันที่ 5% คลิกเลย

สอบถาม