สะดวกมาก! ขั้นตอน ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ฉบับปี 64 แบบไม่ต้องไปขนส่ง

การต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ปี 64 หรือการต่อทะเบียนรถยนต์​ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำ และภาษีรถยนต์ ต้องห้ามขาดเมื่อใช้รถบนท้องถนนภาษีรถยนต์จะหมดเตรียมตัว ต่อภาษีรถยนต์ กันให้ไวด้วยครับ​ โดยส่วนมากการ ต่อภาษีรถยนต์ นั้นจะทำควบคู่ไปกับ การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์​ขั้นพื้นฐาน​ในกรณีที่​ประสบอุบัติเหตุ​ เช่น การเบิกค่ารักษาพยาบาล ถ้ารถของเราขาดการ ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ และ ต่อภาษีรถยนต์ จะถือว่าเป็นรถที่ผิดกฎหมาย ​และไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้เลย

โทษของการไม่ ต่อภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์

1.ไม่ต่อภาษีรถยนต์ – โดนปรับ 

ภาษีและพรบ.รถยนต์ มีอายุการใช้งานแบบปีต่อปี เราสามารถไปต่อภาษีล่วงหน้าได้ 90 วัน หรือ 3 เดือน ก่อนจะถึงวันหมดอายุ ถ้าเราปล่อยให้ภาษี และ พรบ.รถยนต์ ขาดไป ไม่ทำการต่อภาษี และไม่ต่อ พรบ. รถยนต์ จะถือว่าเป็นการละเลย อีกทั้งยังมีโทษค่าปรับ 1% ทุกเดือน จนกว่าเราจะไปชำระค่าปรับและไปต่อภาษีรถยนต์

2. ไม่ต่อภาษีรถยนต์ ถูกระงับทะเบียน 

ในกรณีที่เราไม่ไปทำการต่อภาษีรถยนต์ เกิน 3 ปีขึ้นไป ทะเบียนรถของเราจะถูกระงับ ทำให้ไม่สามารถนำรถออกมาใช้งานได้อีกต่อไป การดำเนินเรื่องแก้ไขยุ่งยากและเสียเวลาพอสมควร และถ้าฝ่าฝืนเอารถออกมาขับ จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทอีกด้วย  

ดังนั้นเจ้าของรถทุกคัน ต้องทำการ ต่อภาษีรถยนต์ และพรบ. รถยนต์ทุกปี เพื่อความอุ่นใจ จะได้​ขับรถคู่ใจได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย​  แต่ด้วย​สถานการณ์​โรค​โค​วิด​-19 ที่กำลังระบาดอยู่นี้ เราเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงไม่สะดวกไปต่อคิวรอที่กรมขนส่ง หรือหน่วยงานย่อยตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ กันแน่ๆ และเพื่อความปลอดภัยของทุกคน วันนี้ Surekrub​ มีวิธีการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ปี 64 แบบง่ายๆ ​มาฝากกัน รับรองว่าง่ายจริง ไม่กี่ขั้นตอน ไม่เสี่ยงต่อโควิด 19 และทุกคนสามารถทำตามได้ชัวร์ครับ คอนเฟิร์ม!

เอกสาร ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ มีดังต่อไปนี้ 

  • พ.ร.บ. รถยนต์
  • สำเนาทะเบียนรถยนต์ (หรือในกรณีที่รถของเรายังมีการผ่อนชำระอยู่ ให้ใช้สำเนาทะเบียนของสถาบันการเงินนั้นๆ)
  • ในกรณี่เรานำรถไปติดแก๊ส เราต้องมีเอกสารรับรองการติดแก๊สที่ถูกต้อง และต้องมีใบตรวจสภาพจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
  • ในกรณีที่รถของเรามีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ต้องมีใบตรวจสภาพรถด้วย 

ขั้นตอนการ ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ปี 64

ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ สามารถทำตามได้ง่ายๆ ดังนี้ 

1. เข้าไปลงทะเบียนสมาชิกที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ที่ลิงค์นี้ >> https://eservice.dlt.go.th


2. หลังจากลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเรียบร้อย ให้กดที่ “การชำระภาษีประจำปี” แล้วเลือก “การชำระภาษีประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

3. ด้านในจะมีช่องว่างให้เรากรอกข้อมูลเกี่ยวกับรถของเรา หลังจากนั้นให้เราเลือกไปที่ช่อง “ยื่นภาษี” 

4. กรอกรายละเอียดเลขกรมธรรม์ และพ.ร.บ.รถยนต์ ของเราลงไป ในขั้นตอนนี้หากเพื่อนๆ คนไหนยังไม่ได้มี พ.ร.บ. รถยนต์ ให้คลิกที่ “ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์” 

5. ในกรณีที่รถยนต์ของเราติดแก๊ส หรือมีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี เราจะต้องกรอกรายละเอียดไว้ตรงนี้ด้วย 

6. กรอกชื่อ และที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร แล้วกดที่คำว่า “เลือกวิธีการชำระเงิน” 

7. เลือกวิธีการชำระเงิน โดยมีให้เลือกหลายวิธี ได้แก่

  • หักเงินจากบัญชี (บวกค่าธรรมเนียมเพิ่ม 20 บาท)
  • ชำระด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต โดยที่บัตรนั้นจะต้องมีสัญลักษณ์ VISA หรือ MASTER CARD (บวกค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 รวม VAT 7 %) 
  • ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ เช่น ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ 7-11
  • ชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น ทรู มันนี่วอลเล็ต
  • ทุกวิธีการชำระเงิยจะมีค่าจัดส่งเอกสารเพิ่มรายการละ 32 บาท 

หลังจากการชำระเงิน กรมการขนส่งทางบกจะทำการส่งใบเสร็จการชำระเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือที่เราเรียกกันว่า “ป้ายภาษี” และ กรมธรรม์ พ.ร.บ.รถยนต์ มาให้ตามข้อมูลที่อยู่ที่เรากรอกเอาไว้ข้างต้น ขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 – 5 วันทำการ เพียงเท่านี้รถคู่ใจของเพื่อนๆ ก็จะสามารถต่อภาษีรถยนต์ ได้แล้วและนำออกมาขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย ไม่ผิดกฎหมาย

นอกจากนี้เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศขยายประเภทของรถที่สามารถต่อทะเบียน และ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์ ได้แล้ว ดังนี้ 

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน อายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี 
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน อายุการใช้งานเกิน 7 ปี 
  • รถบรรทุกส่วนบุคคลอายุการใช้งานเกิน 7 ปี นับตั้งแต่การลงทะเบียนวันแรก 
  • รถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับตั้งแต่การลงทะเบียนวันแรก  

โดยรถยนต์ รถเก๋ง รถบรรทุก และมอเตอร์ไซค์ ที่มีอายุเกิน 7 และ 5 ปี จะต้องไปทำการตรวจสภาพรถจากสถานที่ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 60 บาทสำหรับมอเตอร์ไซค์  และ 200 บาท สำหรับรถยนต์ หลังจากได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากตรอ. แล้ว เราก็สามารถนำมากรอกลงรายละเอียดในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ตามขั้นตอนที่บอกไว้ข้างบนได้เลย 

นอกจากการต่อภาษีรถยนต์ และ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญแล้ว การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสสมัครใจ ก็ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเช่นกัน หากใครกำลังหาข้อมูลและสนใจทำประกันรถยนต์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมกับ Surekrub ได้เลย และพิเศษสำหรับรถยนต์สีขาว ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้รับส่วนลด 5%

ลงทะเบียนรับส่วนลด ประกันรถยนต์สีขาว

สอบถาม